พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระกริ่งสิทธัต...
พระกริ่งสิทธัตโถ ปี 08
พระกริ่งสิทธัตโถ” พระกริ่งที่หมายถึง “ผู้ประทาน ความสำเร็จ” ได้มีการสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508, 2510, 2512, 2516 และ 2517 เป็นรุ่นสุดท้าย เป็นพระพิธีใหญ่แทบทั้งสิ้น พระกริ่งสิทธัตโถที่จัดสร้างขึ้นจะมีการตอกโค๊ตหลายแบบแตกต่างกันไป “พระกริ่งสิทธัตโถ ๒๕๐๘” ปรากฏการณ์ ปาฏิหาริย์พระเพลิงเผา 'ศาลาอุรุพงษ์' ไม่ไหม้ไฟ เป็นอีกเรื่องที่ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ “เหนือธรรมชาติ” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ “ไม่ธรรมดา” และมีให้เห็นอยู่เสมอ คือ “พระเพลิง” หรือ “ไฟ” อันเป็นที่ทราบกันดีว่า “ความร้อนแรง” ที่สามารถ “เผาผลาญทุกสรรพสิ่ง” ให้เป็นจุณได้แต่ก็มีเช่นกันที่ไฟไม่อาจ “เผาผลาญบางอย่างได้” จะเป็นด้วยอานุภาพแห่งความ “ศักดิ์สิทธิ์” ที่บางคนเรียกว่า “อภินิหาร” หรือเปล่านั้นก็เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบาย แต่กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็น “เรื่องจริง” ที่เกิดขึ้นแล้วคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ณ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ พระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) เล่าว่าได้เกิดพระเพลิงโหมไหม้ ศาลาอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างมาเก่าแก่นานกว่า ๘๐ ปี พระเพลิงได้เผาผลาญอย่างรวดเร็วเพราะเป็นไม้เก่าประกอบกับทางเข้า วัดบรมนิวาส เป็นทางคับแคบที่รถดับเพลิงเข้าถึงได้ยากกว่าจะทำการดับเพลิงได้ ศาลาอุรุพงษ์ ก็แทบกลายเป็นจุณแล้วทั้งหลังมีเหลือเพียง “ตู้ไม้เก่า ๆ” ตู้หนึ่งที่ “พระเพลิงไม่ได้เผาผลาญ” ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลาง “กองเถ้าถ่าน” ที่เหลือเพียงควันไฟคละคลุ้งทั่วบริเวณ พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน ที่มุงดู เหตุการณ์จึงตรงเข้าไปสำรวจดูตู้ไม้ตู้นั้นก็พบว่าภายในมี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ตั้งเรียงอยู่บนชั้นไม้ในตู้ที่สภาพยังคงเดิมทั้งที่เป็นไม้เก่า ๆ แม้แต่กระจกตู้ก็ไม่แตกสลายหรือมีคราบเขม่าไฟแต่ประการใดและที่น่า “อัศจรรย์อย่างที่สุด” ก็คือมี “มดจำนวนมาก” เข้าไปอาศัยอยู่ในตู้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน นับล้านตัว และอีกส่วนหนึ่งเกาะล้อมรอบ “พระกริ่งสิทธัตโถ” ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในตู้หลายสิบองค์จนแทบมองไม่เห็นองค์ “พระกริ่ง” เลย “ประการสำคัญ” มดจำนวนนับล้านตัวเหล่านี้ยัง “มีชีวิต” เหมือนกับไม่ได้ถูก “ความร้อน” จากพระเพลิงที่ฮือโหม “ศาลาอุรุพงษ์” แต่ประการใด สร้างความ “อัศจรรย์ใจ” ให้กับ พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านที่เข้าไปสำรวจตู้ไม้นั้นเป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนั้นผู้ที่รู้เห็นนอกจาก พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน กลุ่มนั้นแล้วในเวลาต่อมาจึงมีการโจษขานกันทั่วทั้ง วัดบรมนิวาส และบริเวณข้างเคียง ให้เล่าลือกันมาถึงปัจจุบันโดยทุกคนเชื่อกันว่าเป็นเพราะ “พุทธานุภาพ” ของ “พระกริ่ง” ที่อยู่ใน ตู้ใบนั้นและเรียกว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ที่สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๘ โดย “พระธรรมวกลังการ วัดเพชรวราราม” จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อครั้งเป็น “พระมหาชลอ กิตติ สาโร” และจำพรรษาอยู่ที่ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านเป็นชาวบ้านหนองหลวงจังหวัดลพบุรี จึงมีเจตนาในการสร้างพระกริ่งเพื่อหาทุนไปพัฒนา วัดหนองหลวง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เตรียมการสร้าง “พระกริ่งสิทธัตโถ” โดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ช่วยเหลือในด้านพิธีกรรมต่าง ๆ แต่ไม่อาจสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจึงได้แต่เตรียมการไว้ตลอดกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงสำเร็จโดยได้มีหนังสือกราบทูล สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ขอประทานชื่อพระกริ่งและฤกษ์เททองพร้อมกันด้วยซึ่ง สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ประทานชื่อพระกริ่งที่สร้างว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ประทาน ความสำเร็จ” การประกอบพิธีครั้งนั้นนับว่าเป็นพิธีมโหฬารทีเดียวเพราะมีการประกอบพิธีทั้งทาง “พุทธศาสตร์, พราหมณ์ศาสตร์, โหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ ครบถ้วนถูกต้องตำราการสร้างพระกริ่งทุกประการ นอกจากนี้ยังได้อาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคม และทางวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง นั่งปรกปลุกเสก บริกรรมภาวนาถึง ๔๒ รูป นอกจากนี้ยังมีพระคณา จารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทำการลง พระยันต์ ๑๐๘ และ นะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นนวโลหะตามพิธี การสร้างพระกริ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” นี้มีคุณานุภาพยิ่งขึ้นจึงได้นำแผ่นโลหะอีกส่วนหนึ่งถวายเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ที่ล้วนแต่เป็นพระราชาคณะทั้งสิ้นรวม ๑๐๘ รูป ทรงลงอักขระเลขยันต์นอกจากนั้นพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษ ในทางวิทยาคมอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐมเป็นต้นพร้อมได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นโลหะให้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งด้วยและอีกประการหนึ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” มีคุณานุภาพเป็นพิเศษยิ่งขึ้นจึงได้เลือกประกอบพิธี พร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ในทางต่าง ๆ อีกดังนี้ ๑. นอกจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคมและทางวิปัสสนา ซึ่งมีจำนวนถึง ๔๒ รูป ดังกล่าวแล้วยังได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้มีชื่อเป็นมงคลนามนั่งปรกปลุกเสกอีกดังนี้คือ หลวงพ่อมี, หลวงพ่อแก้ว, หลวงพ่อแหวน, หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อทอง, หลวงพ่อนาค ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นผู้มีโชคลาภแก้วแหวนเงินทองสำหรับผู้ที่มี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ไว้สักการะ ๒. องค์ประธานในการเททองก็ดี พระสงฆ์ผู้เจริญชัยมงคลคาถาในเวลาเททองก็ดีล้วนแต่เป็น สมเด็จพระราชาคณะ และ พระราชาคณะที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยค ทั้งสิ้นและวันที่สร้างพระกริ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ แล้วเริ่มแจกให้แก่ผู้สั่งจองในวันอาทิตย์ที่ ๙ พ.ค. ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำเช่นกัน องค์พระกริ่งประทับนั่งบนบัลลังก์เหนือบัวคว่ำบัวหงาย ๙ กลีบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน ทางก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ที่เป็น ไปโดยชอบธรรม ๓. ผู้ที่ลงอักขระเลขยันต์อีกส่วนหนึ่งที่นอก เหนือจากพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษก็คือ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ก็ล้วนแต่เป็น พระราชาคณะ ซึ่งเจริญด้วยยศศักดิ์ทั้งสิ้น รวม ๑๐๘ รูป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์ พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สฤงคารและบริวารชนเป็นต้น “พระกริ่งสิทธัตโถ” ทำการประกอบพิธีเท ทองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ นั้น หลังจากตกแต่งเรียบร้อยแล้วได้จัดงานสมโภช โดยอาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมานั่งปรกปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส ๔๒ รูปคือ หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิ กาวาส, หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ, หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน, หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์, หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น, หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์, หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทอง หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล, หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน, หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง, หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม, หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง, หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี, หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี, หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง, หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล, หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ, หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์, หลวงพ่อฝั้น วัดถ้ำขาม, หลวงพ่อจวน วัดภูทอก, หลวงพ่อวัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้วได้นำไปให้พระคณาจารย์ที่เป็น “พระอริยสงฆ์” ทำการปลุกเสกเดี่ยวอีก ๒ รูป คือ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง และ เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” จึงนับเป็นพระกริ่งที่สร้างสมบูรณ์แบบด้วยพิธีกรรมและการปลุกเสก นับเป็นพระกริ่งในช่วงปีสองพันห้าร้อยที่น่าสักการบูชาอีกรุ่น เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายนานาประการได้ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง พระกริ่งและพระชัยวัฒน์สิทธัตโถที่สร้างในครั้งนั้นมีจำนวนพระกริ่งรวมทั้งสิ้น 3,249 องค์ แบ่งเป็นเนื้อดังนี้ 1.เนื้อนวะโลหะ 999 องค์ให้ทำบุญองค์ละ 300 บาท 2.เนื้อปัญจโลหะ ให้ทำบุญองค์ละ 100 บาท 3.เนื้อสัมฤทธิ์ ให้ทำบุญองค์ละ 50 บาท เนื้อปัญจโลหะ และสัมฤทธิ์รวมกัน 2,250 องค์ ไม่มีการบันทึกแยกจำนวน สำหรับพระชัยวัฒน์มีจำนวนไม่ปรากฏแต่มีจำนวนน้อยมาก มีให้เห็น 2 เนื้อ คือเนื้อนวะโลหะ และเนื้อปัญจโลหะ
ผู้เข้าชม
1349 ครั้ง
ราคา
โทรถาม
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
ร้านบูรพาจารย์
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0882608801
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 499-2-04111-6

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
swatlordtermboonsomphopเปียโนแมวดำ99
นานาfuchoo18sirikornภูมิ IRchaithawatกรัญระยอง
Chobdoysata ep8600kaew กจ.vanglannaเจริญสุขvaravet
lynnhoppermanบี บุรีรัมย์บ้านพระสมเด็จnaputจ่าดี พระกรุ
อ้วนโนนสูงโกหมูโจ๊ก ป่าแดงมนต์เมืองจันท์หริด์ เก้าแสนsomeman

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1127 คน

เพิ่มข้อมูล

พระกริ่งสิทธัตโถ ปี 08



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระกริ่งสิทธัตโถ ปี 08
รายละเอียด
พระกริ่งสิทธัตโถ” พระกริ่งที่หมายถึง “ผู้ประทาน ความสำเร็จ” ได้มีการสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508, 2510, 2512, 2516 และ 2517 เป็นรุ่นสุดท้าย เป็นพระพิธีใหญ่แทบทั้งสิ้น พระกริ่งสิทธัตโถที่จัดสร้างขึ้นจะมีการตอกโค๊ตหลายแบบแตกต่างกันไป “พระกริ่งสิทธัตโถ ๒๕๐๘” ปรากฏการณ์ ปาฏิหาริย์พระเพลิงเผา 'ศาลาอุรุพงษ์' ไม่ไหม้ไฟ เป็นอีกเรื่องที่ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ “เหนือธรรมชาติ” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ “ไม่ธรรมดา” และมีให้เห็นอยู่เสมอ คือ “พระเพลิง” หรือ “ไฟ” อันเป็นที่ทราบกันดีว่า “ความร้อนแรง” ที่สามารถ “เผาผลาญทุกสรรพสิ่ง” ให้เป็นจุณได้แต่ก็มีเช่นกันที่ไฟไม่อาจ “เผาผลาญบางอย่างได้” จะเป็นด้วยอานุภาพแห่งความ “ศักดิ์สิทธิ์” ที่บางคนเรียกว่า “อภินิหาร” หรือเปล่านั้นก็เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบาย แต่กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็น “เรื่องจริง” ที่เกิดขึ้นแล้วคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ณ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ พระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) เล่าว่าได้เกิดพระเพลิงโหมไหม้ ศาลาอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างมาเก่าแก่นานกว่า ๘๐ ปี พระเพลิงได้เผาผลาญอย่างรวดเร็วเพราะเป็นไม้เก่าประกอบกับทางเข้า วัดบรมนิวาส เป็นทางคับแคบที่รถดับเพลิงเข้าถึงได้ยากกว่าจะทำการดับเพลิงได้ ศาลาอุรุพงษ์ ก็แทบกลายเป็นจุณแล้วทั้งหลังมีเหลือเพียง “ตู้ไม้เก่า ๆ” ตู้หนึ่งที่ “พระเพลิงไม่ได้เผาผลาญ” ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลาง “กองเถ้าถ่าน” ที่เหลือเพียงควันไฟคละคลุ้งทั่วบริเวณ พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน ที่มุงดู เหตุการณ์จึงตรงเข้าไปสำรวจดูตู้ไม้ตู้นั้นก็พบว่าภายในมี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ตั้งเรียงอยู่บนชั้นไม้ในตู้ที่สภาพยังคงเดิมทั้งที่เป็นไม้เก่า ๆ แม้แต่กระจกตู้ก็ไม่แตกสลายหรือมีคราบเขม่าไฟแต่ประการใดและที่น่า “อัศจรรย์อย่างที่สุด” ก็คือมี “มดจำนวนมาก” เข้าไปอาศัยอยู่ในตู้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน นับล้านตัว และอีกส่วนหนึ่งเกาะล้อมรอบ “พระกริ่งสิทธัตโถ” ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในตู้หลายสิบองค์จนแทบมองไม่เห็นองค์ “พระกริ่ง” เลย “ประการสำคัญ” มดจำนวนนับล้านตัวเหล่านี้ยัง “มีชีวิต” เหมือนกับไม่ได้ถูก “ความร้อน” จากพระเพลิงที่ฮือโหม “ศาลาอุรุพงษ์” แต่ประการใด สร้างความ “อัศจรรย์ใจ” ให้กับ พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านที่เข้าไปสำรวจตู้ไม้นั้นเป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนั้นผู้ที่รู้เห็นนอกจาก พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน กลุ่มนั้นแล้วในเวลาต่อมาจึงมีการโจษขานกันทั่วทั้ง วัดบรมนิวาส และบริเวณข้างเคียง ให้เล่าลือกันมาถึงปัจจุบันโดยทุกคนเชื่อกันว่าเป็นเพราะ “พุทธานุภาพ” ของ “พระกริ่ง” ที่อยู่ใน ตู้ใบนั้นและเรียกว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ที่สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๘ โดย “พระธรรมวกลังการ วัดเพชรวราราม” จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อครั้งเป็น “พระมหาชลอ กิตติ สาโร” และจำพรรษาอยู่ที่ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านเป็นชาวบ้านหนองหลวงจังหวัดลพบุรี จึงมีเจตนาในการสร้างพระกริ่งเพื่อหาทุนไปพัฒนา วัดหนองหลวง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เตรียมการสร้าง “พระกริ่งสิทธัตโถ” โดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ช่วยเหลือในด้านพิธีกรรมต่าง ๆ แต่ไม่อาจสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจึงได้แต่เตรียมการไว้ตลอดกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงสำเร็จโดยได้มีหนังสือกราบทูล สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ขอประทานชื่อพระกริ่งและฤกษ์เททองพร้อมกันด้วยซึ่ง สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ประทานชื่อพระกริ่งที่สร้างว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ประทาน ความสำเร็จ” การประกอบพิธีครั้งนั้นนับว่าเป็นพิธีมโหฬารทีเดียวเพราะมีการประกอบพิธีทั้งทาง “พุทธศาสตร์, พราหมณ์ศาสตร์, โหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ ครบถ้วนถูกต้องตำราการสร้างพระกริ่งทุกประการ นอกจากนี้ยังได้อาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคม และทางวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง นั่งปรกปลุกเสก บริกรรมภาวนาถึง ๔๒ รูป นอกจากนี้ยังมีพระคณา จารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทำการลง พระยันต์ ๑๐๘ และ นะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นนวโลหะตามพิธี การสร้างพระกริ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” นี้มีคุณานุภาพยิ่งขึ้นจึงได้นำแผ่นโลหะอีกส่วนหนึ่งถวายเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ที่ล้วนแต่เป็นพระราชาคณะทั้งสิ้นรวม ๑๐๘ รูป ทรงลงอักขระเลขยันต์นอกจากนั้นพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษ ในทางวิทยาคมอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐมเป็นต้นพร้อมได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นโลหะให้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งด้วยและอีกประการหนึ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” มีคุณานุภาพเป็นพิเศษยิ่งขึ้นจึงได้เลือกประกอบพิธี พร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ในทางต่าง ๆ อีกดังนี้ ๑. นอกจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคมและทางวิปัสสนา ซึ่งมีจำนวนถึง ๔๒ รูป ดังกล่าวแล้วยังได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้มีชื่อเป็นมงคลนามนั่งปรกปลุกเสกอีกดังนี้คือ หลวงพ่อมี, หลวงพ่อแก้ว, หลวงพ่อแหวน, หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อทอง, หลวงพ่อนาค ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นผู้มีโชคลาภแก้วแหวนเงินทองสำหรับผู้ที่มี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ไว้สักการะ ๒. องค์ประธานในการเททองก็ดี พระสงฆ์ผู้เจริญชัยมงคลคาถาในเวลาเททองก็ดีล้วนแต่เป็น สมเด็จพระราชาคณะ และ พระราชาคณะที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยค ทั้งสิ้นและวันที่สร้างพระกริ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ แล้วเริ่มแจกให้แก่ผู้สั่งจองในวันอาทิตย์ที่ ๙ พ.ค. ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำเช่นกัน องค์พระกริ่งประทับนั่งบนบัลลังก์เหนือบัวคว่ำบัวหงาย ๙ กลีบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน ทางก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ที่เป็น ไปโดยชอบธรรม ๓. ผู้ที่ลงอักขระเลขยันต์อีกส่วนหนึ่งที่นอก เหนือจากพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษก็คือ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ก็ล้วนแต่เป็น พระราชาคณะ ซึ่งเจริญด้วยยศศักดิ์ทั้งสิ้น รวม ๑๐๘ รูป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์ พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สฤงคารและบริวารชนเป็นต้น “พระกริ่งสิทธัตโถ” ทำการประกอบพิธีเท ทองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ นั้น หลังจากตกแต่งเรียบร้อยแล้วได้จัดงานสมโภช โดยอาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมานั่งปรกปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส ๔๒ รูปคือ หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิ กาวาส, หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ, หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน, หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์, หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น, หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์, หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทอง หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล, หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน, หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง, หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม, หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง, หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี, หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี, หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง, หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล, หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ, หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์, หลวงพ่อฝั้น วัดถ้ำขาม, หลวงพ่อจวน วัดภูทอก, หลวงพ่อวัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้วได้นำไปให้พระคณาจารย์ที่เป็น “พระอริยสงฆ์” ทำการปลุกเสกเดี่ยวอีก ๒ รูป คือ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง และ เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” จึงนับเป็นพระกริ่งที่สร้างสมบูรณ์แบบด้วยพิธีกรรมและการปลุกเสก นับเป็นพระกริ่งในช่วงปีสองพันห้าร้อยที่น่าสักการบูชาอีกรุ่น เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายนานาประการได้ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง พระกริ่งและพระชัยวัฒน์สิทธัตโถที่สร้างในครั้งนั้นมีจำนวนพระกริ่งรวมทั้งสิ้น 3,249 องค์ แบ่งเป็นเนื้อดังนี้ 1.เนื้อนวะโลหะ 999 องค์ให้ทำบุญองค์ละ 300 บาท 2.เนื้อปัญจโลหะ ให้ทำบุญองค์ละ 100 บาท 3.เนื้อสัมฤทธิ์ ให้ทำบุญองค์ละ 50 บาท เนื้อปัญจโลหะ และสัมฤทธิ์รวมกัน 2,250 องค์ ไม่มีการบันทึกแยกจำนวน สำหรับพระชัยวัฒน์มีจำนวนไม่ปรากฏแต่มีจำนวนน้อยมาก มีให้เห็น 2 เนื้อ คือเนื้อนวะโลหะ และเนื้อปัญจโลหะ
ราคาปัจจุบัน
โทรถาม
จำนวนผู้เข้าชม
1354 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
ร้านบูรพาจารย์
URL
เบอร์โทรศัพท์
0884009967
ID LINE
0882608801
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 499-2-04111-6




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี